วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะในยุคสมัยหลังสงครามโลก


ศิลปะใหม่  Art Nouveu

ศิลปะใหม่ใหม่  หรือ  ยูเกนด์ชติล ( สไตล์วัยเยาว์ )  เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมและศิลแระยุกต์  ซึ่งได้รับความนืยมสูงสุดในช่วงปี ค.. 1890 – 1905  โดยมีจุดเด่น  คือ  ใช้รูปแบบธรรมชาติ  โดยเฉพาะดอกไม้และพืชอื่นๆ มาทำเป็นลวดลายเส้นโค้งที่อ่อนช้อย  มีลักษณะรูปแบบจะเป็นการลดทอนรูปแบบจากรุกขชาติ  แมลงและเปลือกหอย  ใบไม้  เถาวัลย์  ตามธรรมชาติ  เช่น  รูปโถงบันไดในบ้านของ  Victor Horta  
ศิลปินที่สําคัญ คือ กุสตาฟ คลิมต์ (Gustav Klimt, 1862-1918) อัมรอน มุชชา (Alphonse Mucha, 1860-1939) อันโตนิโอ เกาดี้ (Antonio Gaudi, 1852-1926) เฮ็คเตอร์ กุยมาร์ (Hector Guimard, 1867-1942) 
ศิลปะลัทธิโฟวิสม์
              คำว่า “โฟวิสม์” Fauvist เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “สัตว์ป่า” ลักษณะงานศิลปะแบบโฟวิสม์นี้ สร้างงานจิตรกรรมแนวใหม่ ใช้รูปทรงอิสระ ใช้สีสดใสตัดกันอย่างรุนแรง เน้นการสร้างงานตามสัญชาตญาณแห่งการแสดงออกอย่างเต็มที่ ผลงานที่เกิดขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงความสนุกสนาน อันเกิดจากลีลาของรอยแปรงและจังหวะของสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ จะนำลีลาของเส้นมาใช้ใหม่ เช่น การตัดเส้นรอบนอกของสิ่งต่าง ๆ เพื่อสร้างความโดดเด่น
ศิลปินสําคัญ เช่น อัลแบร์ต มาร์เกต์ (Albert Marquet, ค.ศ. 1875-1947) อองรี มาตีสส์ (Henri Matisse, ค.ศ. 1869-1954) เป็นต้น

Henri Matisse: Portrait of Madame Matisse (Green Stripe) C.1905
มาทีส์แสดงความชัดเจน ด้านกระบวนคิดเชิงศิลปะแบบโฟวิสม์ผ่านงานประติมากรรมด้วยและเป็นที่ยอมรับทั่วไป  ส้งผลต่อวงการประติมากรรมสมัยใหม่สมัยใหม่เป็นอย่างมากรูปแบบประติมากรรมของมาทีสส์ไม่แตกต่างจากจิตรกรรม ของเขา คือ ไม่เน้นรายละเอียดใดๆ
ศิลปะแบบเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Expressionism)
ศิลปะแบบเอ็กซ์เพรสชันนิสม์ เกิดขึ้นทางเหนือของยุโรป โดยที่ศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเยอรมัน ศิลปะแนวนี้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปินสำคัญ 2 คนคือ Vincent Van Gogh และศิลปินชาว Norwegian ที่ชื่อ Edvard Munch ซึ่งทั้งสองคนนี้ ใช้สีที่รุนแรง และเกินความเป็นจริง โดยเน้นความพอใจของศิลปินเป็นหลัก ไม่ยึดถือ กฏเกณฑ์ และธรรมเนียมใดๆในอดีตเลย สีที่ใช้นั้นจะสื่อถึงพลังที่ถูกบีบคั้นบังคับกดดัน ที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิด ของจิตใจคน เป็นการปดปล่อยอารมณ์ผ่านสี และฝีแปรงที่ให้ความรู้สึก ที่แข็งๆ ดิบ รุนแรง
ศิลปินที่สําคัญช่น เอ็ดวาร์ด มุนช์ (Edvard Munch, ค.ศ. 1863-1944) ฟรัชซ์ มาร์ค (Franz Marc, ค.ศ. 1880-1916) วาสสิลี่ แคนดินสกี (Wassily Kandinsky, ค.ศ. 1866-1944) 
ในยุคนี้นั้นแบ่งกลุ่มได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 
1.     -  กลุ่มสะพาน   เน้นสะท้อนความสับสน  ความอัปลักษณ์ของสังคม  ความหลอกลวง  ด้วยการใช้สีที่รุนแรง
2.     -  กลุ่มม้าสีน้ำเงิน    คือ การเขียนรูปม้าโดยใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก  เส้นแสงคล้ายคลึงการแสดงลีลาคล้ายเสียงดนตรีสลายตัว
ศิลปิน เอ็ดวาร์ด  มูงค์   สร้างผลงานที่เต็มไปด้วยอารมณ์ของความเจ็บป่วย และ ความตาย   ผลงานที่มีชื่อเสียงของ มูงค์ คือ  ภาพเสียงร้องไห้หรือ  The Scream   เป็นภาพที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โศกเศร้าไดเป็นอย่างดี


The Scream by Edvard Munch (1893)
which inspired 20th century Expressionista
ศิลปะแบบคิวบิสม์ (Cubism)
งานศิลปะแบบคิวบิสม์ คือ การที่ศิลปินเข้ามาจัดระเบียบให้กับธรรมชาติ หรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว เสียใหม่ โดยการนำเอารูปทรงเลขาคณิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทรงกลม ทรงกรวย หรือ ทรงกระบอกมาปรับเปลี่ยนให้รับกัน โดยที่จะไม่มีการแสดงอะไรที่ชัดเจนให้เห็นว่า อะไรเป็นอะไรในภาพ แต่ขณะเดียวกันในภาพก็ยังมีเนื้อหาอยู่
ศิลปินผู้นำศิลปะคิวบิสม์ ได้แก่ พาโบล ปิกาสโซ (Pablo Picasso, 1881-1973), จอร์จ บราค (Georges Braque, 1882-1963)
Pablo Picasso. Les Demoiselles d' Avignon. 1970. Oil on Canvas. 
The Museum of Modern Art, New York

Les Demoiselles d' Avignon  ในรูปเป็นภาพของหญิงงามชาวเมืองบาร์เซโลนา ในย่านโสเภณีของเมืองบาร์เซโลนา หญิงทั้ง 5 คน ในภาพนั้นเปลือยกายภาพนี้ถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติรูปแบบศิลปะตะวันตก ที่เคยมีมาแต่เดิมทั้งหมด กล่าวคือ บริเวณสว่างในภาพมีอยู่ตรงโน้นบ้างตรงนี้บ้าง ตามแต่ศิลปินจะแต่งเติม ใบหน้าคนที่เหมือน กับหน้ากาก รูปทรงและเส้นที่ตัดกันแข็งๆ นี้แสดงออก ซึ่งความขัดต่อศีลธรรม และความกร้านต่อโลกของหญิงสาวพวกนี้ได้เป็นอย่างดี ความสัมพันธ์ระหว่างร่างคนกับบรรยากาศตื้นลึกรอบ ๆตัว ในธรรมเนียม แบบเก่าหมดสิ้นลงโดยสมบูรณ์แบบ จากภาพนี้ เมื่อทั้งพื้นผิวภาพที่ว่างเปล่ากับร่างคนนั้นคาบเกี่ยว และกลืนกันไป หมดจนแยกไม่ออกนั่นเอง
 ศิลปะแบบนามธรรม (Abstract)
ศิลปะ Abstract คือ งานศิลปะที่ไม่มีอะไรเหมือนจริงในธรรมชาติเลย แต่จะเป็นความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินที่ แสวงหาวิธีการแสดงออกทางความคิด ที่เป็นอิสระของเส้น สี และรูปทรง พลังทางอารมณ์และความรู้สึก เน้นที่การแสดงออก 2 ประการคือ ตัดทอนสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติให้รูปทรงที่ง่ายและเหลือเพียงแกแท้ รวมทั้งสร้าง่นรูปทรงโดยไม่ต้องงการเสนอเรื่องราวใดๆ เป็นพื้นฐาน
ศิลปนามธรรม จำแนกเป็น  2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.            ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก  คือ   แสดงอารมณ์ความรู้สึกแบบเสรี
2.          ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิก    คือ    สร้างงานผ่านการไตร่ตรอง มีระบบแบบแผน  มีการใช้รูปทรงเรขาคณิตในรูปด้วย     
Jackson Pollock: Orange Yellow Orange. C.1969

ภาพ Orange Yellow Orange จะใช้สีร้อนเป็นรูปทรงเลขาคณิต ที่ขอบนอกเป็นแนวเส้นตรง ในส่วนบริเวณด้านในจะมีแนวสีที่ซึมซ่านเรื่อเรืองเป็นสีแดงส้มอยู่ ในช่วงบนกินแดนลงมาถึง 2 ใน 3 ส่วนของภาพแล้วยังมี สีเหลืองอยู่ในแนวนอน เรืองสว่างกว่าที่อื่น ซึ่งก็อาจทำให้เรานึกไปถึงพระอาทิตย์ตกกลางทะเลทราย ทิ้งลำแสงสุดท้ายเอาไว้กับท้องฟ้าที่แดงฉาน และพื้นทรายที่ยังร้อนระอุ

ศิลปะแบบฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism)
เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในประเทศอิตาลี โดยศิลปินชาวอิตาเลียน แนวคิดของศิลปะไม่เกี่ยวกับเรื่องสตรีเพศ ไม่สนใจภาพเปลือย ความงามที่ถือว่าเป็นแนวทางการทํางานของลัทธินี้ คือ เรื่องของความเร็ว วิทยาศาสตร์ เทคนิควิชาการต่างๆ ศิลปินลัทธิฟิวเจอร์ริสม์นี้ ไม่เห็นด้วยกับความคิดเฟ้อฝัน หรือการหยุดนิ่งอยู่กับที่ จะมีแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความงามจากเครื่องไฟฟ้า รถยนต์ หรือเครื่องบิน นอกจากนี้ยังยึดหลัก 2 ประการ คือ ความเคลื่อนไหวของร่างกายในอวกาศ และความเคลื่อนไหวของวิญญานในร่างกาย หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นศิลปะที่ยึดเอาทฤษฎี เกี่ยวกับพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง โดยได้แสดงออกมาด้วยวิธีเขียนภาพที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว ความอึกทึกครึกโครม ความสับสน อลหม่าน
ศิลปินที่สำคัญ เช่น คาร์โล คาร์รา (Carlo Carra, ค.ศ. 1881-1966) อุมแบร์โต บ็อคโชนี (Umberto Boccioni, ค.ศ. 1882-1916) จิอาโคโม แบลลา (Giacomo Balla July 18, 1871 - March 1, 1958) เป็นต้น



Giacomo Balla : Dynamism of a Dog on a Leash. 
C 1912. Oil on canvas Size 89.9 x 109.9 cm.
Albright-Knox Art Gallery, Buffalo, New York

ศิลปะแบบดาดาอิสม์ (Dadaism)
ศิลปินกลุ่มดาดามีแนวคิดและปฎิกริยาต่อต้านงานศิลปกรรมเก่าๆ ในอดีต มีแนวคิดว่า สิ่งเหล่านั้น เกิดจากการสร้างของศิลปินที่มีจิตใจคับแคบ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องสร้างผลงานแนวใหม่ด้วยการหันเหไปสู่ความเป็นปฏิปักษ์ต่อศิลปะแบบเก่า (Anti-Art) การแสดงออกของศิลปินกลุ่มนี้ จะเน้นการสร้างผลงานที่แสดงถึงการมองโลกในแง่ร้ายรวมทั้งเน้นอารมณ์แดกดัน เยาะเย้ย ถากถาง (Irony and Cynicism) และนอกจากที่กล่าวมาแล้ว กลุ่มดาดายังเน้นการสร้างงานที่ผิดหลักความจริง แต่อย่างไรก็ตาม ลัทธิดาดาอิสม์ได้ให้แนวคิดหลายประการที่มีคุณประโยชน์ต่อวงการศิลปะ เช่น แนวคิดที่ว่า ศิลปะไม่ควรยึดติดกับหลักตรรกวิทยา และเมื่อต้องการปลดปล่อยจิตไร้สำนึกต้องแสดงพฤติกรรมอย่างอิสระและอย่างเต็มที่ แม้ว่าจิตสํานึกจะมีแนวโน้มที่จะแสดงออกแบบแปลกๆ ก็ตาม
ศิลปินที่สำคัญ เช่น
 คอร์ท ชวิทแทร์ส (Kurt Schwitters, ค.ศ. 1887-1948)


มาร์เซล ดูชอมพ์ (Marcel Duchamp, ค.ศ. 1887-1968) เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น